พิพิธภัณฑ์มีชีวิตชาวบางมูลนาก เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเมืองบางมูลนากให้เป็น เมืองน่าอยู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของชุมชนบางมูลนากคือการเปลี่ยนทิศทางเดินของแม่น้ำน่าน ซึ่งเดิมนั้นไหลจากจังหวัดพิษณุโลกเข้าเขตจังหวัดพิจิตรบริเวณตำบลไผ่ขวาง บ้านดงเศรษฐี แล้วไหลลงใต้ผ่านเมืองพิจิตรเก่า โพธิ์ประทับช้าง วังสำโรง วัดขวาง ทุ่งน้อย ท่าบัว บ้านน้อยไปบรรจบกับแม่น้ำยมที่ตำบลบางคลาน อำเภอโพทะเล ต่อมาเมื่อพ.ศ.2413 มีกลุ่มคนจีนเข้ามาทำไร่ฝ้าย บริเวณบ้านดงเศรษฐี และได้ขุดทางน้ำเล็กๆจากแม่น้ำน่านไปเชื่อมกับคลองเรียงที่บ้านท่าฬ่อ และต่อมากระแสน้ำไหลแรงจนเปลี่ยนทางเดินมาตามคลองเรียงซึ่งเป็นคลองธรรมชาติ เชื่อมต่อกับ คลองท่าหลวง คลองดัน ในเขตอำเภอเมืองพิจิตร ผ่านไปทาคลองห้วย คลองบุษบงเหนือและใต้ ในเขตอำเภอบางมูลนาก และไปบรรจบกับแม่น้ำยม ที่ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ การเปลี่ยนทิศทางของแม่น้ำน่าน ที่ผ่านเข้ามาในบริเวณ เขต ตำบลบางมูลนาก ส่งผลต่อการเกิดชุมชนริมแม่น้ำน่านสายใหม่ ประกอกับสร้างเส้นทางรถไฟสายเหนือ โดยการเลือกเส้นทางรถไฟ ให้ผ่านมณฑลพิษณุโลก ด้วยหวังผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การรถไฟตามข้อเสนอของเจ้ากรมรถไฟในขณะนั้น (นาย แฮร์มัน เกิ๊ธ) โดยเส้นทางรถไฟจะขนานแม่น้ำน่านทางทิศตะวันออก ในการนี้ทรงมีพระราชหัตถเลขาเป็นแบบรายงานพระราช ทานถึงที่ประชุมผู้สำเร็จราชการรักษาพระนครเพื่อแจ้งให้ ประชาชนได้ทราบข่าวการเสด็จประพาสพระราชหัตถเลขา ที่ทรงไว้เมื่อคราวเสด็จบางมูลนาก ในวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2444 จากพระราชหัตถเลขาบางส่วน ดังนี้ “เป็นลักษณะเมืองเหนือซึ่งเคยจำได้อันได้กล่าวมาแล้แต่มี น้ำเกิดขึ้นใหม่ๆ รายกันบ้านคนตั้งที่ริมมาตลอดทาง ในเรือนเช่นนี้มีเกวียนอยู่ในลานบ้านได้ความว่ามีนาอยู่ ข้างใน เมื่อมาถึงพรมแดนเมืองภูมิณฑลพิศณุโลกต่อ นครสวรรค์ มีประตูข้ามแม่น้ำ มรดกทางความทรงจำ ของชาวบางมูลนาก เราจะนำมรดกทางความทรงจำของชาวบางมูลนาก เช่น วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ประเพณี ดนตรี ภูมิปัญญา เรื่องเล่า เพื่อสร้างเมืองที่มี ชีวิต และเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งส่งผลต่อความเป็นอยู่ และส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรม อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มีคุณภาพชีวิต ที่ดี และสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน ประดับประดาด้วยคำอำนวยพรแลมงคลต่างๆ มีพระสงฆ์ ราษฎร คอยรับเป็นการครึกครื้นมาก บางมูลนาคมีบ้านเรือนและตลาดผู้คนหนาแน่นเกินที่คาดหมายเป็นอันมาก” พระราชหัตถเลขาในครั้งนั้นแสดงให้เห็นว่าบางมูลนาก เป็นเป็นชุมชนที่อุดมสมบูรณ์ตามหลักฐานที่ปรากฏมี อายุไม่น้อยกว่า 120 ปี จากเอกสารได้แสดงให้เห็นว่าวิถี ชีวิตชาวบางมูลนาก สัมพันธ์กับข้าว โดยมีแม่น้ำน่านทำ หน้าที่หล่อเลี้ยงผู้คน ทั้งจากการทำนาข้าวผ่านคูคลอง ต่างๆ ประกอบกับการคมนาคมทางรถไฟที่เริ่มต้นเดิน รถจากกรุงเทพฯ ถึงสถานีพิษณุโลก ในปี พ.ศ. 2450 ทำให้เศรษฐกิจในชุมชนบางมูลนากเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเกิดโรงสีข้าวขึ้นหลายแห่งในชุมชน ถือได้ว่าชุมชน บางมูลนาก ในขณะนั้นเป็นศูนย์กลางการค้าข้าวที่สำคัญ แม้ว่าพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจและสังคมจะทำให้ชุมชน บางมูลนากเปลี่ยนแปลงไปแต่วิถีชีวิตบทบาทของชุมชน ริมน้ำ เอกลักษณ์ของชุมชนการค้าดั้งเดิม วัฒนธรรม ความเชื่อ และความศรัทธาของผู้คนในชุมชนบางมูลนาก ยังคงรักษารูปแบบ ดั้งเดิมได้อย่างชัดเจน ดังนั้นการเก็บ รักษา อนุรักษ์ และส่งต่อเรื่องราว วัฒนธรรม วิถีชีวิต ให้เป็นความทรงจำร่วมกัน ของชาวบางมูลนาก เพื่อให้ ลูกหลาน ชาวบางมูลนาก ได้รับรู้อดีตของตน โดยจัดเก็บเรื่องราวเหล่านั้น ในรูปแบบของ พิพิธภัณฑ์ชุมชน โดยพิพิธภัณฑ์จะเชื่อมโยงกับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นชุมชนให้เป็น เมืองน่าอยู่ในอนาคตสามารถนำไปสู่การ ฟื้นฟูและพัฒนาชุมชนในมิติต่างๆ ได้แก่ มิติด้านการ สงวน รักษา มรดก ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นด้วย ตนเอง มิติด้านเศรษฐกิจ มิติการท่องเที่ยว มิติด้าน ความสัมพันธ์ของท้องถิ่นเพื่อการดูแลตนเอง และมิติ ด้านการเรียนรู้ของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งแนวคิดการเชื่อมโยงพิพิธภัณฑ์ชาวบางมูลนาก เข้ากับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น จะนำไปสู่การสร้างบทบาทใหม่ให้กับพิพิธภัณฑ์ท้อถิ่นที่จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างชุมชนให้เป็นเมืองน่าอยู่ในอนาคต